แจ้งเตือนพบธนบัตร 1,000 บาทปลอมระบาดที่อำเภอศรีบุญเรืองหลังคนร้ายได้นำมาใช้ซื้อของที่ตลาดนัด  

เมื่อวันที่ 3 ก.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รับแจ้งจาก พ.ต.อ.สุมิตร นันท์สถิตย์ ผกก.สภ.ศรีบุญเรือง แจ้งว่าวันนี้ได้มี คุณศิริพล  ฯ อายุ 25  ปี อยู่ที่ ต.ศรีบุญเรือง อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู   แม่ค้าขายหมูตลาดนัดคลองถมวันจันทร์ ได้รับธนบัตรปลอมชนิด 1,000  บาท  จำนวน 1 ใบ  ไม่ทราบว่ารับจากใครขายตั้งแต่เวลาประมาณ 14.00 น.จนถึง เวลา 18.00 น.เก็บของกลับบ้าน  จึงรู้ว่าเป็นเงินปลอม  และคุณจักรี ฯ อายุ  39 ปี อยู่ที่ ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ขายชุดชั้นในที่ตลาดนัดวันจันทร์  ได้รับธนบัตรชนิด 1,000  บาท  ไม่ทราบว่ารับจากลูกค้าคนใด จนถึงเวลาประมาณ 19.30 น.  จึงรู้เงินเป็นธนบัตรปลอม จึงได้เดินทางเข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน สภ.ศรีบุญเรือง โดยธนบัตรปลอม ทั้ง 2 ใบ เลขที่ 9 B 3672 496

    โดยทางอำเภอศรีบุญเรืองได้แจ้ง กำนัน ทุกตำบล ผู้ใหญ่บ้าน ทุกหมู่บ้าน ประกาศเตือนพบธนบัตรปลอม หรือ แบงก์ปลอมหลายฉบับ ในพื้นที่ ตลาดนัดคลองถม อ. ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู โดยมีร้านค้า แม่ค้าโดนกลุ่มมิจฉาชีพ หลอกนำเเบงค์ปลอมมาซื้อสินค้า และเอาเงินทอนหลายร้าน ส่วนมากเป็น แบงค์ปลอม 1000 บาท และ 500 บาท  และหากชาวบ้านพลาดได้รับธนบัตรปลอมมาแล้ว ให้รีบไปแจ้งความ เพื่อติดตามจับคนร้าย และอย่านำไปใช้ต่อ เพราะมีความผิดตามกฎหมายด้วยเช่นกัน

     อำเภอจึงขอให้ท่านประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าว เเจ้งเตือนให้ชาวบ้านทราบ และให้ชาวบ้านเพิ่มความระมัดระวังในการรับธนบัตร สังเกตก่อนรับเงินทุกครั้ง ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะนำ วิธีการสังเกตที่สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยวิธีการ ดังนี้ สัมผัส ยกส่อง และพลิกเอียง​ ซึ่งธนบัติจริงต้องกลิ้งได้ เมื่อพลิกเอียงธนบัตร ลายดอกไม้สีทองและแถบสีจะกลิ้งและเปลี่ยนสีได้ และเพื่อความมั่นใจควรตรวจสอบในจุดต่างๆ อย่างน้อย 3 จุดขึ้น คือ


 

การสัมผัสกระดาษธนบัตร ทำจากกระดาษที่มีใยฝ้ายเป็นส่วนป​ระกอบหลัก จึงมีความแกร่ง ทนทาน และไม่ยุ่ยง่าย เมื่อจับสัมผัสจะให้ความรู้สึกแตกต่างจากกระดาษทั่วไป แต่หากพลาดได้รับธนบัตรปลอมมาแล้วให้รีบไปแจ้งความ เพื่อติดตามตัวคนร้าย และอย่านำไปใช้ต่อ เพราะมีความผิดตามกฎหมาย
 เกิดจากการพิมพ์โดยใช้แม่พิมพ์ที่มีร่องหมึกลึกและใช้แรงกดพิมพ์สูง หมึกพิมพ์จึงนูนขึ้นมาจากเนื้อกระดาษ ภาพและลายเส้นที่ได้จึงมีรายละเอียดคมชัด ซึ่งใช้ในการพิมพ์พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ คำว่า "รัฐบาลไทย" ตัวอักษรและตัวเลขแจ้งชนิดราคา เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ ​จะรู้สึกสะดุด
ยกส่องลายน้ำ เป็นส่วนหนึ่งในเนื้อกระดาษ เกิดขึ้นจากขั้นตอนการผลิตกระดาษ โดยใช้กรรมวิธีพิเศษที่ทำให้เนื้อกระดาษมีความหนาบางไม่เท่ากันจนเกิดเป็นภาพตามต้องการ ลายน้ำในธนบัตรไทยเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของธนบัตร นอกจากนี้ ลายน้ำยังมีตัวเลขชนิดราคารูปลายไทยที่โปร่งแสงเป็นพิเศษ


ภาพเงา  ภาพเงาพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีลักษณะคล้ายลายน้ำ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้าน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง
ภาพซ้อนทับ เกิดจากเครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ภาพทั้งสองด้านได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้ลวดลายที่ออกแบบไว้ในตำแหน่งตรงกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังซ้อนทับกันสนิท หรือประกอบกันขึ้นเป็นลวดลายหรือภาพที่สมบูรณ์ สามารถสังเกตได้ด้วยการยกธนบัตรขึ้นส่องดูกับแสงสว่าง
พลิกเอียงดูตัวเลขแฝง ตัวเลขแจ้งชนิดราคาซ่อนอยู่ในลายประดิษฐ์ มองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง
หมึกพิมพ์ ลายดอกประดิษฐ์ ชนิดราคา 500 บาท และ 1,000 บาท พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์แม่เหล็กสามมิติเปลี่ยนสีได้ ภายในมีตัวเลขแจ้งชนิดราคา เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงหรือพลิกซ้ายขวา จะเห็นการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนสลับสี ส่วนชนิดราคา 100 บาท ลายดอกประดิษฐ์พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษเมื่อพลิกธนบัตรไปมาจะเห็นเป็นประกาย


แถบสี เกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตกระดาษโดยใช้กรรมวิธีพิเศษที่ฝังแถบพลาสติกขนาดเล็กเคลือบด้วยสีโลหะไว้ในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง และมีบางส่วนของแถบปรากฎให้เห็นเป็นระยะ จะเปลี่ยนสีเมื่อเปลี่ยนมุมมอง ภายในแถบมีตัวเลขและตัวอักษรแจ้งชนิดราคาขนาดเล็ก เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่างจะมองเห็นอ่านได้ชัดเจน.

ขอบคุณภาพประกอบบางภาพ จากเพจอำเภอศรีบุญเรือง

#ภาพ/ข่าวและเนื้อหานี้ เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่องานประชาสัมพันธ์ ไม่แสวงหาผลกำไรในทางการค้า.